[ บทความ : Robot ] ตอนที่ 3 เรื่อง ... การควบคุม ET-ROBOT RD2 (การควบคุมการเคลื่อนที่ของรถหุ่นยนต์์ด้วยเส้น)

 

การควบคุมการเคลื่อนที่ของรถหุ่นยนต์ด้วยเ็ส้น

     
    ในการศึกษาการทำงานของหุ่นยนต์์ นั้น หัวใจสำคัญที่สุดอยู่ที่ขั้นตอนของการเขียนโปรแกรมสำหรับควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์์ ให้สามารถทำงาน ตามเงื่อนไขที่เรากำหนดไว้ได้ ซึ่งการที่จะสามารถสร้างระบบหุ่นยนต์์ให้มีความเฉลียวฉลาดได้มากน้อยเพียงใดนั้น ปัจจัยหลักอย่างหนึ่งก็ คือ การติดตั้ง อุปกรณ์ตรวจจับแบบต่างๆให้กับหุ่นยนต์์เพื่อใช้ในการตรวจจับสภาพแวดลอมภายนอกรอบๆตัวหุ่นยนต์์อันจะเป็นหนทางเพื่อนำไปสู๋การวิเคราะหและ ตัดสินใจสั่งงานระบบกลไกต่างๆเพื่อตอบสนองต่อเงื่อนไขต่างๆที่ตรวจจับได้ สำหรับระบบโครงสร้างของรถหุ่นยนต์์ ET-ROBOT RD2 ก็เช่นเดียวกัน ในชุดมาตรฐานจะมีการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับตรวจจับ Input แบบต่างๆไว้ 2 ส่วนด้วยกัน คือ Switch สำหรับตรวจสอบการชน ด้านหน้าและด้านหลัง และแผงวงจรสำหรับตรวจจับเส้นขนาด 3 จุด สำหรับใช้นำทางให้รถหุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปตามแนวเส้น  ซึ่งในบทนี้เราจะมาทดลองศึกษาเรียนรูเกี่ยวกับวิธีการในการตรวจจับเส้นของรถหุ่นยนต์์ ET-ROBOT RD2 กัน  โดยจะทดลองกำหนดสถานะการณ์ของเส้นในลักษณะต่างๆเพื่อใช้เป็นสนามในการทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุมการทำงานของรถหุ่นยนต์์ ไม่ว่าจะเป็น การเคลื่อนที่ไปตามแนวเส้นตรงและเส้นโคง การเคลื่อนที่ไปตามเส้นตรงและเส้นมุมฉาก การเคลื่อนที่ไปตามแนวเส้นตรงและเส้นสลับฟันปลา หรือ การตรวจจับเส้นเพื่อควบคุมให้รถเคลื่อนที่อยู่ภายในกรอบของเส้นเป็นต้น

    สำหรับแนวทางและวิธีการในการเขียนโปรแกรมเพื่อใช้ ควบคุมการเคลื่อนที่ของรถหุ่นยนต์์ ให้เคลื่อนที่ไปตามแนวของเส้นที่กำหนดเอาไว้ ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการเขียนโปรแกรมสำหรับควบคุมการเคลื่อนที่ของรถหุ่นยนต์์อย่างมีเงื่อนไข ซึ่งการที่จะสามารถเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมให้รถหุ่นยนต์์เคลื่อนที่

ไปตามแนวเส้นที่กำหนดไว้นั้น ในอันดับแรกผู้อ่านจะต้องเข้าใจถึงพื้นฐานในการควบคุมการเคลื่อนที่ของรถหุ่นยนต์์เสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า เคลื่อนที่ถอยหลัง การควบคุมให้รถเลี้ยวซ้าย หรือเลี้ยวขวา เป็นต้น ซึ่งในบทนี้จะไม่ขอกล่าวถึงวิธีการในเรื่องเหล่านี้ โดยผู้อ่านสามารถย้อนกลับไปทำความเข้าใจในหัวข้อการทดลองเรื่อง “การควบคุมการเคลื่อนที่ของรถหุ่นยนต์์” ได้ และจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้อ่านจะต้องทำความเข้าใจกับวิธีการควบคุมการเคลื่อนที่ของรถหุ่นยนต์์ในลักษณะต่างๆดังได้กล่าวมาแล้วขางต้น

ไม่เช่นนั้นแล้วอาจไม่สามารถเข้าใจและทำการทดลองในหัวข้อนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร


     สำหรับหลักการและวิธีการในการเขียนโปรแกรมเพื่อใช้ควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวรถหุ่นยนต์์ให้เคลื่อนที่ไปตามแนวเส้นนั้น ความจริงแล้วจะไม่มีหลักเกณฑ์หรือหลักการใดๆเป็นตัวบังคับว่าจะต้องทำอย่างนั้น อย่างนี้ จึงจะถูกต้อง ถ้าทำอย่างนั้นจะผิดต้องทำอย่างนี้จึงจะถูก ซึ่งวิธีการต่างๆสามารถปรับ

เปลี่ยนไปได้ตามสถานะการณ์และความเหมาะสม โดยผู้อ่านสามารถคิดค้นและพัฒนาเทคนิควิธีต่างๆขึ้นมาใช้งานเองได้ สำหรับตัวอย่างที่จะแสดงให้เห็นในหัวข้อการทดลองของบทนี้ ถือว่าเป็นเพียงตัวอย่างหรือแนวทางเบื้องต้น ในการเขียนโปรแกรมควบคุมเท่านั้น ซึ่งผู้อ่านอาจใช้เป็นแนวทางในการทดลองเพื่อประกอบความเข้าใจในเบื้องต้น ซึ่งถ้าเห็นว่ามีข้อดีก็สามารถจดจำและนำไปใช้งานในโอกาสต่อไปได้ หรือถ้าผู้อ่านยังเห็นว่าตัวอย่างยังมี ข้อจำกัดหรือข้อบกพร่องอยู่ก็อาจนำไปพัฒนาปรับปรุงให้มีความสามารถ

มากยิ่งขึ้น หรือถ้าหากผู้อ่านสามารถคิดค้นหรือมีวิธีการอื่นๆที่ดีกว่า ก็สามารถพัฒนาเทคนิคเหล่านั้นขึ้นมาใช้งานทดแทนเองก็ได้ไม่ถือว่าผิดอะไร โดยทุกอย่างควรยึดเอาผลการทำงานของโปรแกรมเป็นเครื่องชี้วัด ว่าการทำงานของโปรแกรมสามารถตอบสนองต่อเงื่อนไขที่กำหนดไว้ได้เพียงใดมากกว่า 

     แต่อย่างไรก็ตามก่อนที่จะเริ่มต้นเข้าสู๋การทดลองนั้น ในอันดับแรกเราควรมาทำความเข้าใจกับการทำงานของวงจรที่ใช้ในการตรวจจับเส้นกันเสียก่อนว่า วงจรมีหลักการทำงานเป็นอย่างไร และให้ผลลัพธ์ของการทำงานสัมพันธกับลักษณะของเส้นที่ตรวจจับได้อย่างไรบาง จากนั้นค่อยไปทำความเข้าใจกับวิธี

การเขียนโปรแกรมเพื่อตรวจสอบเงื่อนไขการตรวจจับเส น เพื่อใช้เป็นทางเลือกในการสั่งงานรถหุ่นยนต์์ให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางต่างๆในภายหลัง

 

การตรวจจับเส้น (TRACKER SENSOR)

     ในการตรวจจับเส้น (TRACKER) นั้น บอร์ด ET-ROBOT RD2 ได้จัดเตรียมขั้วต่อ TRACKER3 ซึ่งเป็นขั้วต่อสำหรับเชื่อมต่อกับบอร์ดตรวจจับเส้นขนาด 3 จุด ของอีทีที รุ่น R-TRACKER3 ไว้ให้ภายในบอร์ดแล้ว โดยบอร์ดตรวจจับเส้น รุ่น R-TRACKER3 นั้น จะให้ผลการทำงานของการตรวจจับเป็นสัญญาณโล

จิก กล่าวคือจะให้ผลการทำงานเพียง 2 สภาวะ คือ จริง กับ เท็จ โดยบอร์ด R-TRACKER3 เป็นวงจรตรวจจับเส้น โดยจะใช้หลักการส่งและสะท้อนกลับของแสงอินฟราเรด ซึ่งภายในบอร์ด R-TRACKER3 นั้นจะมีการติดตั้งชุดตรวจจับเส้นแบบอินฟราเรดไว้ 3 จุด ด้วยกัน เพื่อเพิ่มความสามารถในการตรวจจับให้มากขึ้น  โดยจะอาศัยหลักการในการสะท้อนกลับของสัญญาณอินฟราเรด ซึ่งคุณสมบัติของแสงอินฟราเรดนี้จะไม่มี

การสะท้อนกลับในวัตถุหรือพื้นผิวที่เป็นสีดำ ดังนั้นเราจึงสามารถทำการตรวจสอบหรือแยกความแตกต่างระหว่างวัตถุ หรือพื้นผิวที่เป็นสีขาวและสีดำได้ แต่เนื่องจากในสถานที่ต่างๆ นั้นจะมีความเข้มข้นหรือปริมาณของแสงที่ไม่เท่ากัน ซึ่งจะมีผลต่อการทำงานของวงจรอินฟราเรด ดังนั้นเราจึงได้ออก แบบวงจรตรวจจับให้สามารถทำการปรับระดับความไวในการตรวจจับได้ โดยการปรับที่ตัวต้านทานปรับค่าได้แบบเกือกมาค่า 10KOHM เพื่อให้มีความอ่อนตัวเมื่อนำไปใช้ในสถานที่ต่างๆ มากขึ้น


รูปแสดง ลักษณะของแผงวงจรสำหรับตรวจจับเส้น (
R-TRACKER3 BOARD)


รูปแสดง วงจรสำหรับตรวจจับเส้นขนาด 1 จุด (
TRACKER CIRCUIT)


รูปแสดง ลักษณะการสะท้อนของคลื่นอินฟราเรด


     จากรูปแสดงลักษณะการสะท้อนของตัวตรวจจับเส้นโดยใช้ชุดรับส่งอินฟราเรดข
างต้น จะเห็นได้ว่า เมื่อตัวส่งทำการส่งคลื่นอินฟราเรดออกไปกระทบ กับวัตถุก็จะมีการสะท้อนกลับของสัญญาณไปยังตัวรับแต่ขนาดความแรงของสัญญาณที่สะท้อนกลับนั้นจะขึ้นอยู่กับสีพื้นผิวของวัสดุ โดยในพื้นผิวที่มีสีทึบ เช่น สีดำ จะมีการสะท้อนกลับของสัญญาณน้อยมาก ส่วนสีที่มีความสว่าง เช่น สีขาว จะมีการสะท้อนสัญญาณได้ดี  จากคุณสมบัติดังกล่าวเราจึงสามารถ แยก ความแตกต่างของเส้นได้ สำหรับวงจรของชุดตรวจจับเส้น R-TRACKER3 นั้น จะใช้วงจรเปรียบเทียบแรงดัน (OP-AMP) ในการตรวจจับ โดยการ ปรับค่าแรงดันอ้างอิงของการตรวจจับไว้ลวงหน้าโดยใช้ตัวต้านทานปรับค่าได้แบบเกือกมาเพื่อนำไปเปรียบเทียบกับแรงดันที่ได้จากการสะท้อนกลับของ ตัวรับ อินฟราเรด เมื่อมีการสะท้อนกลับของคลื่นอินฟราเรดจำนวนมากจนได้ค่าแรงดันเท่ากับแรงดันอ้างอิง ที่กำหนดไว้จะได้ผลการเปรียบเทียบ เป็นค่า โลจิก “0” แต่ถ้าการสะท้อนกลับ มีค่าน้อยจะให้ผลเป็น “1” ซึ่ง บอร์ด ET-ROBOT RD2 จะมีหลอดแสดงผลแบบ LED สำหรับใช้แสดงผล การตรวจจับเส้น เตรียมไว้ให้ด้วย โดยหลอด แสดงผล LED จะติดสว่างเมื่อผลการตรวจจับเส้นได้ผลลัพธ์ เป็น “0” โดยผลการตรวจจับจะมีการเปลี่ยนแปลงตามการ สะท้อน ของสัญญาณอินฟราเรดดังนี้  

  •   เมื่อมีการสะท้อน (พื้นผิวสีขาว) ที่ขาสัญญาณเอาต์พุตจะมี Logic “0” และ LED ติดสว่าง

  •   เมื่อไม่มีการสะท้อน (พื้นผิวสีดำ) ที่ขาสัญญาณเอาต์พุตจะมี Logic “1” และ LED จะดับ

     สำหรับการปรับแต่งค่าระดับความเข็มของเส้นในการตรวจจับนั้น จะขึ้นอยู่กับลักษณะความแตกต่างของพื้นและเส้น ซึ่งควรใช้พื้นและเส้นที่มีความ แตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น ใช้พื้นสีขาวกับเส้นสีดำ หรือ ใช้พื้นสีดำกับเส้นสีขาว เป็นต้น โดยวิธีการปรับแต่งค่าความไว้ในการตรวจจับเส้นนั้นให้ทำการ นำรถหุ่นยนต์์ที่ติดตั้งแผงตรวจจับเส้นเรียบร้อยแล้วไปวางทับไว้กับเส้น พร้อมกับปรับค่าตัวต้านทานจนได้จุดที่เกิดความแตกต่างของวงจรตรวจจับพอดี แล้วจึงลองนำ Sensor เคลื่อนที่ผ่านแนวเส้นดู ซึ่งจะต้องเห็นการเปลี่ยนแปลงของ LED ที่แสดงสถานะการณ์ตรวจจับเส้นทำงานได้อย่างถูกต้อง เมื่อ Sensor อยู่ในตําแหน่งทับเส้น และ อยู่นอกเส้น ตัวอย่างเช่น ถ้าใช้พื้นสีขาวกับเส้นสีดำ เมื่อ Sensor ทับอยู่บนเส้น LED จะต้องดับ แต่เมื่อ Sensor อยู่บนพื้น LED แสดงสถานะการณ์ทำงานของ Sensor จะต้องติดสว่าง เป็นต้น.....

 

.....อ่านต่อ (DOWNLOAD)...



เขียนโดย : อีทีที
Author : ETT
e-mail : sales@etteam.com
วันที่ทำการปรับปรุง : ๔ พ.ค. ๒๕๔๗